วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"ชลน่าน ศรีแก้ว" จุดยืนเพื่อไทย ใช้กลไกรัฐสภา แก้ปัญหานักโทษความคิด

 


‘นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว’ ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยืนยันจุดยืนพรรคเพื่อไทยต่อข้อเสนอของภาคประชาชน ตามที่ได้มีการแถลงการณ์ในนามประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองนั้นเจตนารมณ์ของพรรคเพื่อไทย คือ 1. ต้องการปกป้องคุ้มครองผู้ที่ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพจากการบังคับใช้กฎหมาย และถูกจับกุมคุมขังเป็นนักโทษทางความคิด เพียงเพราะเห็นต่างซึ่งสะท้อนให้ถึงการนำกฎหมายมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

.

2. ข้อเสนอของภาคประชาชน ซึ่งยังมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ต้องใช้เวทีสภาในการแก้ไขปัญหาและเราจะรับเอามาทุกความเห็นมาพิจารณา ไม่อาจปล่อยให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกภายนอกสภาแล้วส่งผลให้มีการใช้อำนาจนอกระบบเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนั้นจึงต้องรับข้อเรียกร้องและความคิดเห็นต่างๆ เพื่อนำมาร่วมกันพิจารณาแก้ไขในรัฐสภาตามวิถีประชาธิปไตย ยืนยันไม่ได้มุ่งหมายว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร เพราะการจะดำเนินการแก้ไขหรือไม่ และแก้ไขอย่างไรเป็นหน้าที่ของรัฐสภา

.

นอกจากนี้ ‘นพ.ชลน่าน’ ยังเปิดเผยถึงการหารือกับพรรคร่วมฝ่ายค้านถึงการญัตติอภิปรายทั่วไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 เพื่อเสนอแนะรัฐบาลในการเร่งรัดแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้มีการพิจารณาในหลายเรื่อง โดยมีแนวทางในการพิจารณาปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นตัวตั้ง ซึ่งปัญหาที่หนักที่สุดตอนนี้คือวิกฤตเศรษฐกิจ การจัดการด้านสาธารณสุข คือโควิด-19 และวิกฤตศรัทธาทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพเรียกร้องประชาธิปไตย  ซึ่งคาดว่าในสมัยประชุมนี้จะสามารถดำเนินการยื่นญัตติได้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นรอไม่ได้ กลไกรัฐสภาจะต้องแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและการแก้ไขปัญหาด้วยกลไกสภาถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด

“หมอเลี้ยบ” ย้ำจุดยืน ปล่อยนักโทษทางความคิด คืนเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นให้คนไทย ใช้กลไกสภาแก้ปัญหาอย่างสันติ

 


“หมอเลี้ยบ” ย้ำจุดยืน “เพื่อไทย” ใช้กลไกรัฐสภาพูดคุยแก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อหาทางออก คลี่คลายวิกฤต

 

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์รายการ ‘Breaking News’ ทาง Voice TV ยืนยันว่า เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องสำคัญ หากต้องการสร้างความยุติธรรมในสังคมเพื่อนำไปสู่การประชาธิปไตยที่แท้จริง ดังนั้นจึงไม่ควรมีนักโทษทางความคิด ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้ยืนยันแนวทางนี้ในการประชุมใหญ่ของพรรค โดย นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย

.

หลังจากการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชน พรรคเพื่อไทยได้ยืนยันจุดยืนเดิม คือจะต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะกฎหมายที่นำไปสู่การจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและทำให้เกิดนักโทษทางความคิดต้องมีการตรวจสอบ หากพี่น้องประชาชนรวบรวมรายชื่อเสนอมาการนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาก็เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะเปิดให้มีการรับข้อมูลทุกด้านทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมาพิจารณาอย่างรอบด้าน ซึ่งจะเป็นเวทีในการคลี่คลายวิกฤตความขัดแย้งได้

.

นอกจากนี้ นพ.สุรพงษ์ ยังได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่ประชาชนกังวลว่า พรรคที่เกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 อาจเหตุที่จะนำไปสู่การยุบพรรค นพ.สุรพงษ์ อธิบายว่า มูลเหตุของการยุบพรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการพิสูจน์ว่าพรรคการเมืองนั้นๆ ได้กระทำการทำลายหรือเป็นปรปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประเด็นมาตรา 112 หรือ มาตรา 116 ได้มีการพูดคุยอยู่ในแวดวงนักวิชาการมาอย่างต่อเนื่องด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ปรากฏการณ์นี้ถือเป็นเรื่องดีในการหาข้อสรุปที่สอดคล้องกับบริบทสังคมปัจจุบันและไม่ให้มีการใช้กฎหมายเพื่อกลั่นแกล้งทางการเมืองอีก

.

ดังนั้นเพื่อไม่ให้มาตรา 112 หรือ มาตรา 116 ถูกหยิบไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง จุดยืนของพรรคเพื่อไทยที่ต้องการนำความคิดเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา ใช้กลไกรัฐสภาเพื่อหาทางออก ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม เพราะรัฐสภาเป็นพื้นที่ที่สามารถนำข้อกฎหมายมาหารือและวิเคราะห์กันได้ทั้งในแง่นิติรัฐและนิติธรรม เพื่อร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมที่สุดต่อประชาชน อีกทั้งการที่นำข้อกฎหมายมาพูดคุยกันในรัฐสภา ยังเป็นการร่วมกันปิดช่องโหว่ของกฎหมาย ที่ถูกใช้อย่างล้นเกิน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

.

สำหรับประเด็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ถูกฟ้องร้องควรจะได้รับสิทธิในการประกันตัว นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ทุกวันนี้ประชาชนจำนวนมากที่ถูกฟ้องร้องใน มาตรา 112  มาตรา 116 หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มักไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว รัฐสภาจึงควรทำหน้าที่เพื่อตรวจสอบการใช้ข้อกฎหมายตรงนี้ หากประชาชนไม่ได้กระทำผิดเข้าข่ายที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถูกคุมขัง ก็ต้องได้รับสิทธิในการประกันตัว

.

อย่างไรก็ดีการพิจารณาของรัฐสภาขึ้นอยู่กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยรู้กันดีว่าไม่ใช่ทุกเรื่องจะได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด และประชาชนสามารถร่วมกันผลักดันประเด็นนี้ต่อผ่านทางพรรคการเมืองได้ หากถึงวาระการเลือกตั้งครั้งใหม่

.

สุดท้ายเมื่อถูกถามว่าจะมีการนำเรื่องข้อกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิมนุษยชนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นพ. สุรพงษ์ ในฐานะผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย ให้คำตอบว่า ประเด็นเรื่องประชาธิปไตยเป็นประเด็นสำคัญ และถูกนำไปพูดถึงในนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพื่อนำเสนอเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยจะมุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และจะต้องไม่มีนักโทษทางความคิดอีกต่อไป

.

ที่มา : https://youtu.be/k1kiSFCpu_0

17 ปีความจริงปรากฏ! "ไพศาล พืชมงคล" ยืนยันชัดเจน "ทักษิณ ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์กรือเซะ!!!" ย้ำไม่ได้เกี่ยวข้องและไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ

  02 ธ.ค. 2564 - นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์เฟซบุ๊กในสหัวข้อ “ทักษิณไม...